วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ข้อสอบIPV6

ข้อสอบ 20 ข้อ
1.(IPV6) ย่อมาจากอะไร
ก. Internet Protocol Vertion6 ข. Vertion6
ค. Internet Protocol ง.ถูกทุกข้อ
เฉลย ก.
2.โพรโตคอลดังกล่าวทั้งหมดกี่ฉบับ
ก. 1ฉบับ ข. 2ฉบับ
ค. 3ฉบับ ง.4ฉบับ
เฉลย ง.
3.CATNIP ย่อมาจากอะไร
ก.(Common Architecture for Next Generation Internet Protocol)
ข.(TCP and UDP with Bigger Addresses)
ค.(Simple Internet Protocol Plus)
ง.ไม่มีข้อถูก
เฉลยก.
4.TUBA ย่อมาจากอะไร
ก.(Common Architecture for Next Generation Internet Protocol)
ข.(TCP and UDP with Bigger Addresses)
ค.(Simple Internet Protocol Plus)
ง.ไม่มีข้อถูก

เฉลย ข.
5. SIPP ย่อมาจากอะไร
ก.(Common Architecture for Next Generation Internet Protocol)
ข.(TCP and UDP with Bigger Addresses)
ค.(Simple Internet Protocol Plus)
ง.ไม่มีข้อถูก
เฉลย ค.
6.แนวทางในการพัฒนาIPV6 อย่างเป็นทางการไว้ในเอกสาร RFC 1752 โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้
ก.นโยบายการแบ่งสรรหมายเลขไอพีแอดเดรส
ข.ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเรียกคืนชุดหมายเลขไอพีรุ่นที่ 4 ที่มีการใช้ประโยชน์ต่ำกว่าเกณฑ์กลับคืนมา
ค.- ให้ใช้หลักการแบ่งสรรหมายเลขไอพีคลาส A ที่เหลืออยู่แบบ CIDR
ง.ถูกทุกข้อ
เฉยล ง.
7.โครงการ IPng Area (คณะทำงานที่ถูกแต่งตั้งโดย Internet Engineering Task Force, IETF ในปีค.ศ.ใด
ก.1991 ข.1992
ค.1993 ง.1994
เฉลย ค.
8.คณะทำงาน IPng ถูกก่อตั้งขึ้นโดยใคร
ก.Steve Deering และ Ross Callon ข.adda
ค.Ping ง.ไม่มีข้อถูก
เฉลย ก.
9.คณะทำงาน Address autoconfiguration ถูกก่อตั้งและนำทีมโดยใครบ้าง
ก. Ross Callon ข. Steve Deering
ค. Dave Katz ร่วมกับ Sue Thomson ง.ถูกทุกข้อ
เฉลย ค.
10.โครงการ IPng Area จะสิ้นสุดลงเมื่อปลายพ.ศ.ใด
ก.ปลายปี 1994 ข.ปลายปี 1997
ค.ปลายปี 1995 ง.ปลายปี 1990
เฉลย ก.
11.คุณลักษณะเฉพาะของ IPng APIs คืออะไรบ้าง
ก.ต้องสนับสนุน Authentication header และ algorithm อย่างเฉพาะเจาะจง
ข.ต้องสนับสนุน Privacy header และ algorithm อย่างเฉพาะเจาะจง
ค.ต้องมีการพัฒนาโครงร่างของระบบ Firewall สำหรับ IPng
ง.ถูกทุกข้อ
เฉลย ง.
12.และในช่วงกลางปี 1994 เช่นกัน IPng ได้รับการกำหนดหมายเลขรุ่นโดยหน่วยงานใด
ก.ไม่มีข้อถูก
ข.Internet Assigned Numbers Authority(IANA)
ค.อเมริกา
ง.หน่วยงานจากญี่ปุ่น
เฉลย ข.
13.จากข้อ12.ได้รับเป็นรุ่นที่เท่าไหร่
ก.ให้เป็นรุ่นที่ 6 อันเป็นที่มาของ IPv6
ข.ให้เป็นรุ่นที่ 4 อันเป็นที่มาของ IPv4
ค.ให้เป็นรุ่นที่ 5 อันเป็นที่มาของ IPv5
ง.ให้เป็นรุ่นที่ 7 อันเป็นที่มาของ IPv7
เฉลย ก.
14. เอกสาร RFC1752 ชุดนี้ได้ถูกยอมรับและดำเนินการต่อโดยคณะทำงานภายใต้ IETF ที่ชื่อว่า อะไร
ก. Internet
ข. Engineering
ค.Internet Engineering Steering Group (IESG)
ง.ไม่มีข้อถูก
เฉลย ค.
15. IP Address มีอยู่กี่ลักษณะ
ก.สองลักษณะด้วยกัน
ข.สามลักษณะ
ค.สี่ลักษณะ
ง.ถูกทุกข้อ
เฉลย ก.
16. IP Address มีลักษณะบ้าง
ก. Static IP
ข. IP Address
ค. Dynamic IP
ง. Static IPและ Dynamic IP
เฉลย ง.
17.หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดสรร IP Address เหล่านี้คือ
ก.หน่ายงานจากต่างประเทศ
ข.หน่วยงานภายในประเทศไทย
ค.องค์การระหว่างประเทศที่ชื่อว่า Network Information Center - NIC
ง.ถูกทุกข้อ
เฉลย ค.
18. IPv6 ประกอบด้วยเลขฐานสองจำนวนกี่บิต
ก.128 บิต
ข.84 บิต
ค.32 บิต
ง. 16 บิต
เฉลย ก.
19.จุดเด่นของ IPv6 ที่พัฒนาเพิ่มขึ้นมากจาก IPv4 คืออะไร
ก.ขยายขนาด Address ขึ้นเป็น 128 บิต สามารถรองรับการใช้งาน IP Address ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วได้
ข.เพิ่มขีดความสามารถในการเลือกเส้นทางและสนับสนุน Mobile Host

ค.สนับสนุนการทำงานแบบเวลาจริง (real-time service)
ง.ถูกทุกข้อ

เฉลย ง.
20.เฮดเดอร์ของ IPV 6 เทียบกับของ IPV 4 จะสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างอะไรบ้าง
ก.ตำแหน่งที่ตัดออก
ข.ตำแหน่งที่ปรับเปลี่ยน

ค.ตำแหน่งที่เพิ่ม
ง.ถูกทุกข้อ
เฉลย ง

วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2551

Topology

Topology

Topology
การจัดรูปโครงสร้างของอุปกรณ์สื่อสารเพื่อจัดตั้งเป็นระบบเครือข่าย
สามารถกระทำได้หลายแบบดังนี้
1. ระบบเครือข่ายที่แบ่งประเภทโดยพิจารณาจากการจัดโครงสร้างอุปกรณ์เป็นหลัก
เรียกว่า การจัดรูปทรงระบบเครือข่าย (Topology)
ได้แก่ ระบบเครือข่ายแบบดาว แบบบัส และแบบวงแหวน เป็นต้น

2. ระบบเครือข่ายตามขนาดทางกายภาพของระยะทางในการส่งข้อมูลเป็นหลัก
ได้แก่ เครือข่ายเฉพาะบริเวณ (LAN)
เครือข่ายในเขตเมือง (MAN)
เครือข่ายวงกว้าง (WAN)
และเครือข่ายสหภาค (Internetwork)

3. ระบบเครือข่ายที่พิจารณาจากขอบเขตการใช้งานขององค์กร เช่น เครือข่ายอินทราเนต (Intranet)
เครือข่ายเอ็กซ์ทราเนต( Extranet) และเครือข่ายสากล
(Internet)
การจัดรูปทรงระบบเครือข่าย (Topology)วิธีการอธิบายระบบเครือข่ายแบบหนึ่ง
คือการพิจารณาจากรูปทรงของระบบเครือข่าย
คือระบบเครือข่ายแบบดาว แบบบัส และแบบวงแหวน ตามลำดับ

ระบบเครือข่ายแบบดาว (Star Topology)
ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง
เรียกว่า โฮสต์ (Host) หรือ เซิฟเวอร์ (Server)
ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นแลอุปกรณ์ที่เหลือ
ระบบนี้เหมาะกับการประมวลผลที่ศูนย์กลางและส่วนหนึ่งทำการประมวลผลที่เครื่องผู้ใช้
(Client or Work Station) ระบบนี้มีจุดอ่อนอยู่ที่เครื่อง
Host คือ การสื่อสารทั้งหมดจะต้องถูกส่งผ่านเครื่อง Host ระบบจะล้มเหลวทันทีถ้าเครื่อง
Host หยุดทำงาน

เครือข่ายแบบดาว ( star )
ระบบเครือข่ายแบบบัส (Bus Toplogy)เป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์
และอุปกรณ์ทั้งหมดด้วยสายสื่อสารเพียงเส้นเดียว อาจใช้สายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเซียล
หรือสายใยแก้วนำแสงก็ได้ สัญญาณที่ถูกส่งออกมาจากอุปกรณ์ตัวใดก็ตามจะเป็นลักษณะการกระจายข่าว
(Broadcasting) โดยไม่มีอุปกรณ์ตัวใดเป็นตัวควบคุมระบบเลย
แต่อาศัยซอฟท์แวร์ที่ติดตั้งในอุปกรณ์แต่ละตัวทำหน้าที่ควบคุมการสื่อสาร
ในระบบบัสนี้จะมีอุปกรณ์เพียงตัวเดียวที่สามารถส่งสัญญาณออกมา
อุปกรณ์ตัวอื่นที่ต้องการส่งสัญญาณจะต้องหยุดรอจนกว่าในระบบจะ
ไม่มีผู้ใดส่งสัญญาณออกมาจึงจะส่งสัญญาณของตนออกมาได้
ถ้าหากส่งออกมาพร้อมกันจะเกิดปัญหาสัญญาณชนกัน (Collision) ทำให้สัญญาณเกิดความเสียหายใช้การไม่ได้
และระบบนี้จะมีประสิทธิภาพต่ำถ้ามีอุปกรณ์เชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมาก

ระบบเครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Topology)
ระบบเครือข่ายวงแหวนจะมีลักษณะคล้ายเครือข่ายบัสที่เอาปลายมาต่อกัน
โดยไม่มีอุปกรณ์ใดเป็นตัวควบคุมการสื่อสารของระบบเลย และข้อมูลในวงแหวนจะเดินไปในทิศทางเดียวกันเสมอ


ระบบเครือข่ายตามขนาดทางกายภาพของระยะทางในการส่งข้อมูลระบบเครือข่ายในลักษณะนี้
ได้ให้คำจำกัดความจากตำแหน่งที่ตั้งและขอบเขตวงกว้างของการใช้งาน
ซึ่งแบ่งได้หลายอาณาเขต
1. เครือข่ายเฉพาะบริเวณ (Local Area Networks) หรือเครือข่ายระบบแลน (LAN)
2. เครือข่ายในเขตเมือง (Metropolitan Area Networks) หรือเครือข่ายระบบแมน (MAN)
3. เครือข่ายวงกว้าง (Wide Area Networks) หรือเครือข่ายแวน (WAN)เครือข่ายเฉพาะบริเวณ (LAN)
มีขอบเขตการทำงานแคบ มักอยู่ในอาคาร ออฟฟิศ สำนักงาน
หรือหลายอาคารที่อยู่ติดกัน ไม่เกิน 2,000 ฟุต ระบบ LAN
ได้รับความนิยมมากในการเชื่อมต่ออุปกรณ์สำนักงานเข้าด้วยกัน โดยมีสายนำสัญญาณการสื่อสารที่เป็นของตนเอง
โดยใช้ Topology แบบบัส หรือวงแหวนและมีช่องสื่อสารที่กว้าง เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สำนักงาน
อุปกรณ์ระบบแสดงผล พิมพ์งาน และการรับส่งข้อมูลข่าวสารในสำนักงานทำงานร่วมกันได้
ถ้าหากการใช้งานในบางจุดของสำนักงานไม่สามารถเดินสายเคเบิลได้
หรือมีข้อจำกัดด้านการติดตั้งและลงทุนเช่น การต่อสาย LAN ข้ามตึก
หรือระหว่างชั้นสำนักงาน ก็สามารถประยุกต์ใช้ระบบ LAN ไร้สาย ตามที่กล่าวไปแล้วได้
มักมีเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งทำหน้าที่เป็น Host หรือ เซิฟเวอร์ (Server) ซึ่งคล้ายกับบรรณารักษ์
คอยจัดเก็บโปรแกรมและฐานข้อมูล และควบคุมการเข้าใช้ของ User
แต่ละคน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็น Server นี้มักมีหน่วยความจำใหญ่และ
มีหน่วยประมวลผลที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าพีซีปกติ
ความสามารถในการทำงานของระบบแลนถูกกำหนดโดย
ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System ; NOS )
ที่ติดตั้งอยู่ที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องหรืออาจอยู่ที่เครื่อง Server เพียงเครื่องเดียว
ระบบปฏิบัติการจะทำหน้าที่ในการ กำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลในเครือข่ายและ
จัดการบริหารการสื่อสารตลอดจนควบคุมการใช้งานทรัพยากรทั้งหมดในเครือข่าย
ตัวอย่างซอฟท์แวร์ที่นิยมใช้ ได้แก่ Novell Netware ,
Microsoft Windows 2000 Server ,
IBM’s OS/2 Warp Server เป็นต้น
ซึ่งซอฟท์แวร์ประยุกต์ที่ใช้บนระบบเครือข่าย LAN ในปัจจุบันมักนิยมทำงานในแบบ
ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ (Client / Server System)
โดยที่เครื่องผู้ให้บริการจะเป็นผู้จัดเตรียมข้อมูลและโปรแกรมให้ผู้ใช้บริการ

ระบบเครือข่ายในเขตเมือง (MAN)
โดยพื้นฐานแล้วระบบเครือข่ายในเขตเมือง (Metropolitan Area Network)
มีลักษณะคล้ายกับระบบ LAN แต่มีอาณาเขตที่ไกลกว่าในระดับเขตเมืองเดียวกัน
หรือหลายเมืองที่อยู่ติดกันก็ได้ ซึ่งอาจเป็นการให้บริการของเอกชนหรือรัฐก็ได้
เป็นการบริการเฉพาะหน่วยงาน มีขีดความสามารถในการให้บริการทั้งรับและส่งข้อมูล ทั้งภาพและเสียง
เช่นการให้บริการระบบโทรทัศน์ทางสาย (Cable TV)

ระบบเครือข่ายวงกว้าง (WAN)
เป็นระบบที่มีขอบเขตการใช้งานกว้างกว่า ไกลกว่าระบบแลน
ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นระบบที่ไร้ขอบเขตแล้ว เช่นระบบการสื่อสารข้อมูลผ่านดาวเทียมของสถานีโทรทัศน์ต่างๆ
แต่การที่จะเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีระยะห่างกันมากๆให้เป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งหมด
นั้นจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายสาธารณะ (Public Networks) ที่ให้บริการการสื่อสาร
โดยเชื่อมต่อผ่านโมเด็ม ผ่าน เครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะ
(Public Switching Telephone Network ; PSTN)
ซึ่งมีทั้งลักษณะต่อโมเด็มแบบที่ต้องมีการติดต่อก่อน (Dial-up) หรือต่อตายตัวแบบสายเช่า

(Lease Line)
ระบบเครือข่ายที่พิจารณาจากขอบเขตการใช้งานขององค์กรระบบอินทราเนต
(Intranet) ในปัจจุบันบางองค์กรได้จำลองลักษณะของอินเตอร์เนตมาเป็นเครือข่ายภายในและ
ใช้งานโดยบุคคลากรของบริษัท ผู้คนในบริษัทจะทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อกันในองค์กร
เฉพาะเครือข่ายของบริษัทตนเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องใดๆกับองค์กรอื่นภายนอก
ทั้งที่อยู่ในสำนักงานเดียวกันหรือต่างสาขาก็ได้ หรือจะอยู่คนละภูมิประเทศก็ได้
สามารถสื่อสารกัน (Interfacing) ได้โดยการใช้ Web Browser
เขียนเป็น Home Pages เหมือนอินเตอร์เนตโดยทั่วไป ด้วยกราฟฟิก ภาพ ข้อความ เสียง
และมี Function ต่างๆ เช่น Web-board การ Log-in
การเปิดหน้าต่าง Browser ด้วยวิธีการคลิ๊กทีละ Page นำเสนอข้อมูลที่สวยงาม
ง่ายต่อการเข้าใจ มีระบบจดหมายอีเลกทรอนิกส์ มี Account ให้พนักงานแต่ละคนใช้ส่วนตัว
มีระบบโต้ตอบและสนทนาได้อัตโนมัติ ตัวอย่างของระบบอินทราเนต ที่นิยมใช้กันมาก
ได้แก่ ระบบซอฟท์แวร์ Lotus-Note ของบริษัท IBMข้อดีของอินทราเนตที่องค์กรต่างๆนิยมใช้เพราะ
เป็นส่วนตัว (Privacy) ในระดับองค์กร คาวมเร็วในการส่งผ่านข้อมูลที่จำเป็นเฉพาะองค์กร
การป้องกันการรั่วไหลของความลับองค์กร แต่ในขณะเดียวกันระบบอินทราเนตสามารถเชื่อมต่อ
กับระบบอินเตอร์เนตภายนอกได้ทันที เพราะอาศัย Protocol
มาตรฐาน TCP/IP เหมือนกันระบบเอ็กทราเนต
(Extranet) เป็นอีกลักษณะของระบบเครือข่ายที่เป็นระบบสารสนเทศระหว่างองค์กร
(Inter-Organization ; I-OIS) ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างองค์กรที่มีความสัมพันธ์กัน
ต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ติดต่อธุรกรรมกันเป็นประจำ ระหว่างพนักงาน
บริษัทคู่ค้า บริษัทลูกค้า หรือบริษัทที่เป็นพันธมิตรกัน

ระบบเอ็กทราเนตจะอาศัยโครงสร้างของอินทราเนต
และอินเตอร์เนตในการทำงานสื่อสารระหว่างองค์กร
แต่อาจอาศัยเครือข่ายเฉพาะส่วนบุคคล (Virtual private Networks ; VPN)
ซึ่งจะต้องมีการเข้ารหัสต่างๆ เพื่อขออนุญาตเข้าใช้เครือข่าย
มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในองค์กรระหว่างกัน
ปัจจุบันนิยมมากในกลุ่มธุรกิจที่มีลักษณะเป็นพันธมิตรทางการค้า (Alliance)
ที่ต้องอาศัยข้อมูลของบริษัทร่วมกัน (Collaboration Commerce ; C-Commerce)
เช่น ข้อมูลสต็อกสินค้า ข้อมูลลูกค้า และมีฟังก์ชั่นการทำงานในลักษณะโต้ตอบ สนทนา แบบ Real time

ระบบอินเตอร์เนต (Internet)
เป็นระบบที่รู้จักกันดีและใช้งานกันอยู่เป็นประจำ เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน
เชื่อมโยงศูนย์คอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าไว้เป็นระบบเดียว จึงเป็นระบบสื่อสารที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว
และมีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก เพราะมีประโยชน์ในวงการต่างๆ
มากมายอินเตอร์เนตที่ทั่วโลกสามารถเชื่อมต่อกันได้เพราะมีมาตรฐานหรือโปรโตคอลที่ชื่อว่า
TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol)
ซึ่งสามารถเชื่อมโยงได้โดยผ่านผู้ให้บริการอินเตอร์เนตเชิงพาณิชย์ (Internet Service Provider ; ISP )
ซึ่งจะทำหน้าที่ให้บริการเสมือนศูนย์กลางการสื่อสารคอยติดต่อประสานงานกับวงอินเตอร์เนตอื่นๆทั่วโลก
เสมือนสำนักงานไปรษณีย์ที่คอยส่งจดหมายไปตามที่อยู่ (IP Address)
ของผู้รับ ผู้ให้บริการอินเตอร์เนตในประเทศไทยปัจจุบันได้แก่ Loxinfo ,
CS Communication , Internet KSC , AsiaNet ,
Telecomasiaหรือแม้แต่องค์การโทรศัพท์หรือ ทศท.คอร์เปอเรชั่น จำกัด
ในปัจจุบันก็หันมาทำธุรกิจให้บริการอินเตอร์เนตด้วย

IP Address
หรือบ้านเลขที่บนอินเตอร์เนต ถ้าเปรียบอินเตอร์เนตเป็นเมืองขนาดใหญ่
และเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเป็นบ้านที่มีถนนเชื่อมถึงกัน
เครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นย่อมต้องมีเลขที่บ้านเพื่อให้รู้ตำแหน่งกันโดย
ไม่ซ้ำกับเครื่องใดในโลก IP Address ประกอบไปด้วยตัวเลข 4 ชุด ต่อกัน
โดยมีจุดเป็นสัญญลักษณ์แบ่งตัวเลข แต่ละชุดมีค่าตั้งแต่ 0 – 255 โดยสามารถทำการขอเลข
IP ได้จากหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตจาก InterNIC
(Internet Network Information Center) เช่นผู้ให้บริการอินเตอร์เนตทั่วไป

Internet Address
คงไม่มีใครอยากจะจดจำ IP Address เพราะเป็นชุดตัวเลขที่ยาวมาก
ไม่สะดวกต่อการจดจำและเรียกใช้ลำบาก จึงมีการกำหนดชื่อเรียกขึ้นมาแทน
IP Address เหมือนการจดทะเบียนการค้า มีเลขทะเบียนการค้าแล้ว
แต่ต้องจดทะเบียนชื่อห้างร้านด้วย Internet Address อยู่ในรูปของตัวอักษร
นิยมตั้งให้จำได้ โดยมากใช้ชื่อองค์กรหรือชื่อที่มีความสัมพันธ์กับเนื้อหาหรือ
วัตถุประสงค์ขององค์กรหรือบุคคลเจ้าของ Website นั้นๆ
โดยมีตัวย่อหลังเครื่องหมายจุดในอินเตอร์เนตแอดเดรสเป็นตัวระบุความแตกต่างกันของขนิดองค์กร
ที่พบบ่อยๆ ได้แก่

ส่วนอินเตอร์เนตแอดเดรสในประเทศไทย
มักมี.th ตามต่อท้ายเพื่อให้ทราบว่ามี IP อยู่ในประเทศไทยเป็นการกำหนดตำแหน่งประเทศ
ที่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ ตั้งอยู่ เช่น co.th , ac.th , go.th , or.th เป็นต้นบริการต่างๆในอินเตอร์เนต
ตัวอินเตอร์เนตเอง คือระบบที่สร้างขึ้นเพื่อการเชื่อมต่อข้อมูลแต่ข้อมูลที่จะเชื่อมต่อ
กันบนอินเตอร์เนตอาจอยู่ในรูปแบบใดๆก็ได้ ขึ้นกับความต้องการผู้ใช้ โดยมากที่เราพบเห็นจะอยู่ในรูปแบบ
www (World Wide Web หรือที่เรารู้จักกันว่า Web site)
แต่อินเตอร์เนตมีรูปแบบที่ให้บริการต่างๆได้มากมาย อาทิ


1. เครือข่ายใยพิภพ (เครือข่ายใยแมงมุม) World Wide Web
ประกอบไปด้วย Website ต่างๆมากมายบนโลก
2. บริการจดหมายอีเล็กทรอนิกส์ (e-Mail) ที่มีชื่อเสียงที่เรารู้จักก็คือ
โปรแกรม OutLook หรือบริการ e-mail บนเว็บยอดฮิตก็ Hotmail ที่รูจักกันดี
3. บริการโอนย้ายไฟล์ (File Transfer Protocol ; FTP)
บริการให้ Up – Down load แฟ้มข้อมูลต่างๆ
4. Usenet บอร์ดข่าวสารบนอินเตอร์เนต
5. ระบบการสนทนาโต้ตอบแบบทันที (Internet Relay Chat ; IRC)
6. Internet Phone หรือ Voice Mail ที่สามารถใช้เสียงพูดคุยผ่านอินเตอร์เนต (VoiceOverIP)
7. การให้บริการแฟกซ์ผ่านอินเตอร์เนต (Internet Fax)
8. การให้บริการภาพและเสียงผ่านอินเตอร์เนต (Streaming audio and video)

ข้อสอบปรนัย5ข้อ
1. ระบบเครือข่ายที่แบ่งประเภทโดยพิจารณาจากการจัดโครงสร้างอุปกรณ์เป็นหลัก เรียกว่าอะไร
ก.การจัดรูปทรงระบบเครือข่าย (Topology)
ข.การรักษาเครือข่าย
ค.การาดูแลเครือข่าย
ง.ถูกทุกข้อ

2.ระบบเครือข่ายตามขนาดทางกายภาพของระยะทางในการส่งข้อมูลเป็นหลักได้แก่
ก.เครือข่ายเฉพาะบริเวณ (LAN)
ข.เครือข่ายในเขตเมือง (MAN)
ค.เครือข่ายวงกว้าง (WAN)
ง.ถูกทุกข้อ

3.ระบบเครือข่ายแบบดาว ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง เรียกว่า
ก.โฮสต์ (Host) หรือ เซิฟเวอร์
ข.ดาว
ค.ถูกทุกข้อ
ง.ไม่มีข้อถูก

4.ข้อใดไม่ใช่ระบบเครือข่ายตามขนาดทางกายภาพของระยะทางในการส่งข้อมูล
ก.เครือข่ายเฉพาะบริเวณ
ข.เครือข่ายในเขตเมือง
ค.เครือข่ายวงกว้าง
ง.ไม่มีข้อถูก

5.ระบบเครือข่ายแบบวงแหวน มีลักษณะอย่างไร
ก.ระบบเครือข่ายวงแหวนจะมีลักษณะคล้ายเครือข่ายบัสที่เอาปลายมาต่อกัน
ข.มีลักษณะเป็นวงกลม
ค.มีลักษณะสี่เหลี่ยม
ง.มีลักษณะวงรี

e-learning ที่เกี่ยวข้อง

e-learning ที่เกี่ยวข้อง

e-learning

http://e-learning.tu.ac.th/
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

http://e-learning.mfu.ac.th/
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

http://regelearning.payap.ac.th/
มหาวิทยาลัยพายัพ

http://elearning.utcc.ac.th/lms/main/default.asp
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

http://md.rmutk.ac.th/
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

http://e-learning.kku.ac.th/
มหาวิทยาลัยขอนแก่น

http://space.kbu.ac.th/el/index.asp
มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

http://elearning.dusit.ac.th/xedu/Home.aspx
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

http://sutonline.sut.ac.th/moodle/mod/resource/view.php?id=7790
มหวิทยาลัยเทคโนดลยีสุรนารี

http://www.academic.hcu.ac.th/e-learning/e-learning.html
มหวิทยาลัยหัวเฉลียวเฉลิมพระเกียรติ

URL ที่สนใจ
http://e-learning.kku.ac.th
มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เพราะว่าสื่อการเรียนการสอนมากมายแล้วแต่ตัวเราจะศึกษาค้นคว้าว่าสนใจตัวไหน
การเข้าใช้งานระบบ
Username และ Password ของระบบนี้ เป็นตัวเดียวกันกับระบบทะเบียนเรียนของมหาวิทยาลัยขอนแก่น (http://reg.kku.ac.th/) หากนักศึกษาลืมรหัสผ่าน ขอให้นักศึกษาติดต่อสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ (สำนักทะเบียนและประมวลผล) ชั้น 1 อาคารศูนย์วิชาการ เพื่อขอรหัสผ่านใหม่
การเข้าเรียนในรายวิชา
นักศึกษาจะเข้าเรียนในวิชาที่ลงทะเบียนเรียนได้โดยอัตโนมัติ หากมีบทเรียนของรายวิชานั้นในระบบ e-Learning โดยนักศึกษาจะพบรายชื่อวิชาที่เข้าเรียนได้เมื่อ login เข้าระบบแล้ว

คำอธิบายรายวิชา เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการกระจาย

คำอธิบายรายวิชา
(Course Description)
ความรู้เบื้องต้นเบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เครือข่าย
การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับเทอร์มินอล ชั้นของโปรโตคอลมาตรฐาน OSI รูปแบบต่าง ๆ ของเครือข่าย X.25 เนตเวิร์คและดิจิตอลเนตเวอร์ค การประมวลผลแบบตามลำดับและแบบขนาน
การไปป์ไลน์ (Pipelining)
การประมวลผลแบบเวคเตอร์ (Vector Processing)
การประมวลผลแบบอะเรย์ (Array Processors)
มัลติโปรเซสเชอร์ (Multiprocessor)
และฟอลท์โทเลอร์แรนซ์ (Fault Tolerance)

วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2551

หลักการออกแบบ optical fiber digital communication

หลักการออกแบบ Optical Fiber Digital Communication

แบบฝึกหัด
ข้อ1.
30 mbit ระยะทาง 45 km
1.Preformanc = ไม่ระบุ
2.BL = 30*45 =1,350
3.เลือก optical source เลือก LED power ที่ -15
เพราะ ราคาประหยัด
4.เลือก optical fiber เลือก Graded Index Multimode
เพราะ ลองรับ BL แบร์นวิด ที่ 1.5 GHz/km
5.เลือก optical detector เลือก PIN - FET มีค่า sensitivity -60
เพราะ ราคาประหยัด
6.Lmax = Po - Por
แทนค่า (-15) - (-60)
= 65
7.Lf = Lmax (Lc + Ls + Pm)
กำหนด Lc = 0.50
กำหนด Ls = 1db
กำหนด Pm = 6db
แทนค่า Lf = 65- (0.50 +1 +6
= 57.50
8.Dmax = Lf/Lfimax
Lf = 57.50
Lfimax = 2
แทนค่า 57.50/2
= 28.75k
ข้อ2.
50 mbit ระยะทาง 100 km
1.Preformanc = ไม่ระบุ
2.BL = 50*100 = 5,000
3.เลือก optical source เลือก LED power ที่ -20
เพราะ ราคาประหยัด
4.เลือก optical fiber เลือก Graded Index Multimode
เพราะ ลองรับ BL แบร์นวิด ที่ 1.5 GHz/km
5.เลือก optical detector เลือก PIN - FET มีค่า sensitivity -50
เพราะ ราคาประหยัด
6.Lmax = Po - Por
แทนค่า (-20) - (-50)
= 70
7.Lf = Lmax (Lc + Ls + Pm)
กำหนด Lc = 0.50
กำหนด Ls = 1db
กำหนด Pm = 5db
แทนค่า Lf = 70- (0.50 +1 +5)
= 31.75
8.Dmax = Lf/Lfimax
Lf = 63.50
Lfimax = 2
แทนค่า 63.50/2

= 31.57kmล


***************************************************************************************

เครื่อข่ายความเร็วสูง

เครือข่ายความเร็วสูง
SDH ย่อมาจาก Synchronous Digital Heirarchy SDH เป็นคำศัพท์ที่มีความหมาย
ถึงการวางลำดับการสื่อสารแบบซิงโครนัสในตัวกลางความเร็วสูง ซึ่งโดยปกติใช้
สายใยแก้วเป็นตัวนำสัญญาณ การสื่อสารภายในเป็นแบบซิงโครนัส คือส่งเป็นเฟรม
และมีการซิงค์บอกตำแหน่ง เริ่มต้นเฟรมเพื่อให้อุปกรณ์รับตรวจสอบสัญญาณ
ข้อมูลได้ถูกต้อง มีการรวมเฟรมเป็นช่องสัญญาณที่แถบกว้างความเร็วสูงขึ้น
และจัดรวมกันเป็นลำดับ เพื่อใช้ช่องสื่อสารบนเส้นใยแก้วนำแสง ความเป็น
มาของ SDH มีมายาวนานแล้ว เริ่มจากการจัดการโครงข่ายสายโทรศัพท์
ซึ่งสัญญาณโทรศัพท์ได้เปลี่ยนเป็นดิจิตอล โดยช่องสัญญาณเสียงหนึ่งช่อง
ใช้สัญญาณแถบกว้าง 64 กิโลบิต แต่ในอดีตการจัดมาตรฐานลำดับชั้นของ
เครือข่ายสัญญาณเสียงยังแตกต่างกัน เช่นในสหรัฐอเมริกา มีการจัดกลุ่มสัญญาณ
เสียง 24 ช่อง เป็น 1.54 เมกะบิต หรือที่เรารู้จักกันในนาม T1 และระดับต่อไปเป็น
63.1, 447.3 เมกะบิต แต่ทางกลุ่มยุโรปใช้ 64 กิโลบิตต่อหนึ่งสัญญาณเสียง และจัด
กลุ่มต่อไปเป็น 32 ช่องเสียงคือ 2.048 เมกะบิต ที่รู้จักกันในนาม E1 และจัดกลุ่ม
ใหญ่ขึ้นเป็น 8.44, 34.36 เมกะบิต
การวางมาตรฐานใหม่สำหรับเครือข่ายความเร็วสูงจะต้องรองรับการใช้งานต่าง ๆ
ทั้งเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์ และสัญญาณมัลติมีเดียอื่น ๆ เช่น สัญญาณโทรทัศน์
ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต และที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกได้ คณะกรรมการจัดการมาตร
ฐาน SDH จึงรวมแนวทางต่าง ๆ ในลักษณะให้ยอมรับกันได้ โดยที่สหรัฐอเมริกา
เรียกว่า SONET ดังนั้นจึงอาจรวมเรียกว่า SDH/SONET การเน้น SDH/SONET
ให้เป็นกลางที่ทำให้เครือข่ายประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ วิ่งลงตัวได้จึงเป็นเรื่องสำคัญ
เนื่องจากโครงข่ายของ SDH/SONET ใช้เส้นใยแก้วนำแสงเป็นหลัก โดยวางแถบ
กว้าง พื้นฐานระดับต่ำสุดไว้ที่ 51.84 เมกะบิต โดยที่ภายในแถบกว้างนี้จะเป็นเฟรม
ข้อมูลที่สามารถนำช่องสัญญาณเสียงโทรศัพท์ หรือการประยุกต์อื่นใดเข้าไปรวมได้
และยังรวมระดับช่องสัญญาณต่ำสุด 51.84 เมกะบิตนี้ให้สูงขึ้น เช่นถ้าเพิ่มเป็นสาม
เท่าของ 51.84 ก็จะได้ 155.52 ซึ่งเป็นแถบกว้างของเครือข่าย ATM
โมเดลของ SDH แบ่งออกเป็นสี่ชั้น เพื่อให้มีการออกแบบและประยุกต์เชื่อมต่อ
ได้ตามมาตรฐานหลัก
ชั้นแรกเรียกว่าโฟโตนิก เป็นชั้นทางฟิสิคัลที่เกี่ยวกับการเชื่อมเส้นใยแก้วนำแสง
และอุปกรณ์ประกอบทางด้านแสง
ชั้นที่สอง เป็นชั้นของการแปลงสัญญาณแสง เป็นสัญญาณไฟฟ้า หรือในทางกลับ
กัน เมื่อแปลงแล้วจะส่งสัญญาณไฟฟ้าเชื่อมกับอุปกรณ์สื่อสารอื่น ๆ ชั้นนี้ยังรวม
ถึงการจัดรูปแบบเฟรมข้อมูล ซึ่งเป็นเฟรมมาตรฐาน แต่ละเฟรมมีลักษณะชัดเจนที่
ให้อุปกรณ์ตัวรับและตัวส่งสามารถซิงโครไนซ์เวลากันได้ เราจึงเรียกระบบนี้ว่า ซิงโครนัส
ชั้นที่สามเป็นชั้นที่ว่าด้วยการรวมและการแยกสัญญาณ ซึ่งได้แก่วิธีการมัลติเพล็กซ์
และดีมัลติเพล็กซ์ เพราะข้อมูลที่เป็นเฟรมนั้นจะนำเข้ามารวมกัน หรือต้องแยกออก
จากกัน การกระทำต้องมีระบบซิงโครไนซ์ระหว่างกันด้วย
ชั้นที่สี่ เป็นชั้นเชื่อมโยงขนส่งข้อมูลระหว่างปลายทางด้านหนึ่งไปยังปลายทางอีกด้าน
หนึ่ง เพื่อทำให้เกิดวงจรการสื่อสารที่สมบูรณ์ ในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์หนึ่งไป
ยังอีกอุปกรณ์หนึ่งจึงเสมือนเชื่อมโยงถึงกันในระดับนี้
เพื่อให้การรับส่งระหว่างปลายทางด้านหนึ่งไปยังอีกปลายทางด้านหนึ่งมีลักษณะสื่อ
สารไปกลับได้สมบูรณ์ การรับส่งจึงมีการกำหนดแอดเดรสของเฟรมเพื่อให้การรับ
ส่งเป็นไปอย่างถูกต้อง กำหนดโมดูลการรับส่งแบบซิงโครนัส ที่เรียกว่า STM – Synchronous
Transmission Module โดย เฟรมของ STM พื้นฐาน มีขนาด 2430 ไบต์ โดยส่วนกำหนด
หัวเฟรม 81 ไบต์ ขนาดแถบกว้างของการรับส่งตามรูปแบบ STM จึงเริ่มจาก 155.52 เมกะ
บิตต่อวินาที ไปเป็น 622.08 และ 2488.32 เมกะบิตต่อวินาที จะเห็นว่า STM ระดับแรกมี
ความเร็ว 155.52 เมกะบิตต่อวินาที ซึ่งเป็น 3 เท่าของแถบกว้างพื้นฐานของ SDH ที่ 51.84
เมกะบิตต่อวินาที STM จึงเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ภายใน SDH ด้วย
เมื่อพิจารณาให้ดีจะเห็นว่า ผู้ออกแบบมาตรฐาน SDH ต้องการให้เป็นทางด่วนข้อมูล
ข่าวสาร ที่จะรองรับระบบเครือข่ายโทรศัพท์ที่มีอัตราการส่งสัญญาณกันเป็น T1, T3,
หรือ E1, E3 ขณะเดียวกันก็รองรับเครือข่าย ATM (Asynchronous Transfer Mode)
ที่ใช้ความเร็วตามมาตรฐาน STM ดังที่กล่าวแล้ว โดยที่ SDH สามารถเป็นเส้นทางให้กับ
เครือข่าย ATM ได้หลาย ๆ ช่องของ ATM ในขณะเดียวกัน
SDH จึงเสมือนถนนของข้อมูลที่ใช้เส้นใยแก้วนำแสงเพื่อรองรับแถบกว้างของ
สัญญาณสูง ขณะเดียวกันก็ใช้งานโดยการรวมสัญญาณข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาร่วมใช้
ทางวิ่งเดียวกันได้ SDH จึงเป็นโครงสร้างพื้นฐาน เสมือนหนึ่งเป็นถนนเชื่อมโยง
ที่ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ที่สำคัญคือ ถนนเหล่านี้จะเป็นทางด่วนที่รองรับการประยุกต์
ใช้งานในอนาคต SDH หรือทางด่วนข้อมูล จะเกิดได้หรือไม่ คงต้องคอยดูกันต่อไป
















เอกสารอ้างอิง :
http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/sdh.htm


สายใยแก้วนำแสง
สาย สัญญาณที่ใช้กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ใน
ปัจจุบันมี 2 ประเภท โดยแบ่งตามชนิดของตัวนำที่
ช้ประเภทแรกคือ แบบที่ใช้โลหะเป็นตัวนำสัญญาณ
(Conductive Metal) เช่น สายคู่บิดเกลียว (Twisted
Pairs) และสายโคแอ็กซ์ (Coaxial Cable) ซึ่งปัญหา
ของสายที่มีตัวนำเป็นโลหะนั้นก็คือ สัญญาณที่วิ่งอยู่
ภายในสายนั้น อาจจะถูกรบกวนได้โดยคลื่นแม่เหล็ก
ไฟฟ้าแหล่งต่าง ๆ เช่น มอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟ
ฟ้าต่าง ๆ ที่ผลิตสนามแม่เหล็ก หรือแม้กระทั่งปรากฏ
การณ์ธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่า เป็นต้น และการเดินสาย
เป็นระยะทางไกลมาก ๆ เช่น ระหว่างประเทศจะมีการ
สูญเสียของสัญญาณเกิดขึ้น จึงต้องใช้อุปกรณ์สำหรับ
ทวนสัญญาณติดเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นจึงมีการ
คิดค้นและพัฒนาสายสัญญาณแบบใหม่ ซึ่งใช้ตัวนำซึ่ง
ไม่ได้เป็นโลหะขึ้นมาก็คือ สายใยแก้วนำแสง (Fiber
Optic) ซึ่งใช้สัญญาณแสงในการส่งสัญญาณไฟฟ้า
ทำให้การส่งสัญญาณไม่ถูกรบกวนจากสนามแม่เหล็ก
ไฟฟ้าต่าง ๆ ทั้งยังคงทนต่อสภาพแวดล้อมอีกด้วย
และตัวกลางที่ใช้สำหรับการส่งสัญญาณแสงก็คือ
ใยแก้วซึ่งมีขนาดเล็กและบางทำให้ประหยัดพื้นที่
ไปได้มาก สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลโดยมีการ
สูญเสียของสัญญาณน้อย ทั้งยังให้อัตราข้อมูล
(Bandwidth) ที่สูงยิ่งกว่าสายแบบโลหะหลายเท่าตัว


โครงสร้างของใยแก้วนำแสง
ส่วนประกอบของใยแก้วนำแสงประกอบด้วย
ส่วนสำคัญคือ ส่วนที่เป็นแกน (Core) ซึ่งจะอยู่ตรง
กลางหรือชั้นในแล้วหุ้มด้วยส่วนห่อหุ้ม (Cladding)
แล้วถูกห่อหุ้มด้วยส่วนป้องกัน (Coating) อีกชั้นหนึ่ง
โดยที่แต่ละส่วนนั้นทำด้วยวัสดุที่มีค่าดัชนีหักเหของ
แสงต่าง กัน ทั้งนี้ก็เพราะต้องคำนึงถึงหลักการหักเห
และสะท้อนกลับห
มดของแสง ส่วนที่เหลือก็จะเป็น
ส่วนที่ช่วยในการติดตั้งสายสัญญาณได้ง่ายขึ้น เช่น
Strengthening Fiber ก็เป็นส่วนที่ป้องกันไม่ให้สาย
ไฟเบอร์ขาดเมื่อมีการดึงสายในตอนติดตั้งสาย สัญญาณ











แกน (Core)

เป็นส่วนกลางของเส้นใยแก้วนำแสง และเป็นส่วน
นำแสง โดยดัชนีหักเหของแสงส่วนนี้ต้องมากกว่าส่วน
ของแคลด ลำแสงที่ผ่านไปในแกนจะถูกขังหรือเคลื่อน
ที่ไปตามแกนของเส้นใยแก้วนำแสงด้วย กระบวนการ
สะท้อนกลับหมดภายใน

ส่วนห่อหุ้ม (Cladding)
เป็นส่วนที่ห่อหุ้มส่วนของแกนเอาไว้ โดยส่วนนี้จะมีดัชนี
หักเหน้อยกว่าส่วนของแกน เพื่อให้แสงที่เดินทางภายใน
สะท้อนอยู่ภายในแกนตามกฎของการสะท้อนด้วยการสะท้อน
กลับหมด โดยใช้หลักของมุมวิกฤติ
ส่วนป้องกัน (Coating/Buffer)
เป็น ชั้นที่ต่อจากแคลดที่กันแสงจากภายนอกเข้าเส้น
ใยแก้วนำแสงและยังใช้ประโยชน์ เมื่อมีการเชื่อมต่อเส้นใย
แก้วนำแสง โครงสร้างอาจจะประกอบไปด้วยชั้นของพลาส
ติกหลาย ๆ ชั้น นอกจากนั้นส่วนป้องกันยังทำหน้าที่เป็นตัว
ป้องกันจากแรงกระทำภายนอกอีกด้วย ตัวอย่างของค่าดัชนี
หักเห เช่น แกนมีค่าดัชนีหักเหประมาณ 1.48 ส่วนขอแคลด
และส่วนป้องกันซึ่งทำหน้าที่ป้องกันแสงจากแกนไปภายนอก
และป้องกัน แสงภายนอกรบกวน จะมีค่าดัชนีหักเหเป็น 1.46
และ 1.52 ตามลำดับ
เอกสารอ้างอิง
http://www.thaiinternetwork.com/chapter/detail.php?id=0043

ข้อสอบ
1. Synchronous Digital Heirarchy ข้อใดถูกต้อง
ก. SDH *
ข. ข. DSH
ค. ค.SDE
ง. ง.ถูกทุกข้อ
2. Synchronous Digital Heirarchy หมายถึงข้อใด
ก. การวางลำดับการสื่อสารแบบซิงโครนัส *
ข. ตัวส่งสัญญาณ
ค. ตัวรับสัญญาณ
ง. ผิดทุกข้อ
3. โดยปกติใช้สายใยแก้วเป็นตัวนำสัญญาณ การสื่อสารภายใน
เป็นแบบซิงโครนัส คือส่งเป็นเฟรม และมีอะไรที่ใช้ในการบอกตำแหน่ง
ก. ซิงค์ *
ข. สายเคเบิ้ล
ค. สายโทรศัพท์
ง. ถูกทุกข้อ
4. ในสหรัฐอเมริกา มีการจัดกลุ่มสัญญาณเสียง มีกี่ช่อง
ก. 24 ช่อง*
ข. 25 ช่อง
ค. 26 ช่อง
ง. 27 ช่อง
5. โมเดลของ Synchronous Digital Heirarchy แบ่งออกกี่ชั้น
ก. 4 ชั้น *
ข. 5 ชั้น
ค. 6 ชั้น
ง. 7 ชั้น
6. ชั้นแรกโมเดลของ Synchronous Digital Heirarchy
เรียกอีอย่างหนึ่งว่าอย่างไร
ก. โฟโตนิก *
ข. ลิงค์
ค. ซิงค์
ง. ผิดทุกข้อ
7. การแปลงสัญญาณแสง เป็นสัญญาณไฟฟ้าอยู่ในชั้ที่เท่าไร
ก. 2 *
ข. 3
ค. 4
ง. 5
8. การรวมและการแยกสัญญาณอยู่ในชั้นที่เท่าไร
ก. 2
ข. 3 *
ค. 4
ง. 5
9. ประเทศใดเรียกเส้นใยแก้วนำแสงเป็นหลักเป็น SONET
ก. อังกฤษ
ข. อเมริกา*
ค. อินเดีย
ง. จีน
10. กลุ่มยุโรปใช้ กิโลบิตต่อหนึ่งสัญญาณเสียง
ก. 64 กิโลบิต *
ข. 65 กิโลบิต
ค. 66 กิโลบิต
ง. 67 กิโลบิต
หมายเหตุ เครื่องหมาย * อยู่หลังข้อไหนข้อนั้นถูกต้อง


OSPF

OSPF
OSPF เป็นเร้าติ้งโปรโตคอลที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใช้บนเน็ตเวิร์ก
IP โดยคณะทำงาน Interior Gateway Protocol (IGP)
ย่อยแห่งคณะกรรมการ Internet Engineering Task Force (IETF)
คณะทำงานนี้ได้ถูกก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1998 เพื่อทำหน้าที่ออกแบบเร้าติ้งโปรโตคอล
ที่ใช้บนเน็ตเวิร์กภายในองค์กร โดยมีพื้นฐานมาจากอัลกอริทึมในทางคอมพิวเตอร์แบบ
Shortest Path First (SPF) อัลกอริทึมนี้มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า
Dijkstra’S Algorithm ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งตามชื่อของนักคณิตศาสตร์ที่เป็นผู้ออก
แบบและคิดค้นอับกอ ริทึมนี้

OSPF มีคุณลักษณะที่สำคัญ
1. เป็นเร้าติ้งโปรโตคอลมาตรฐานและเป็นมาตรฐานสากล ข้อกำหนดและพฤติกรรม
ต่าง ๆ ได้รับการอธิบายไว้อย่างชัดเจนใน RFC (Request for Comments)
IETF ได้พัฒนา OSPF ขึ้นมาในปี 1988 ส่วนเวอร์ชันล่าสุดซึ่งรู้จักกันในนาม
OSPF เวอร์ชัน 2 ได้รับการอธิบายไว้ใน RFC 2328
2. เป็นเร้าติ้งโปรโตคอลที่อาศัยการอัปเดตสถานะของเน็ตเวิร์กอินเตอร์เฟซไปให้
กับเร้าเตอร์เพื่อบ้านแล้วให้เร้าเตอร์เพื่อนบ้านสร้างภาพรวมของเน็ตเวิร์ กทั้งหมด
และคำนวณหาเส้นทางเอง แต่จะไม่ ส่งเร้าติ้งเทเบิลทั้งตารางไปให้เร้าเตอร์เพื่อนบ้าน
เหมือนกันในกรณีของ Distance Vector
3. มีการเลือกเส้นทางที่สั้นที่สุดโดยพิจารณาจากแบนด์วิดธ์ (Bandwidth)
4. รอง รับการตั้งแอดเดรสแบบมีจำนวนบิตของ Subnet Mask ไม่เท่ากัน
(Variable Length Subnet Mask: VLSM) และมีการส่ง Subnet
Mask ไปให้เร้าเตอร์เพื่อนบ้านด้วย
5. รอง รับการสร้างสิ่งที่เรียกว่า “OSPF Area” ซึ่งสามารถทำให้เน็ตเวิร์กที่
ใช้งาน OSPF สามารถจัดแบ่งเน็ตเวิร์กออกเป็นโซนหรือพื้นที่ย่อย ๆ ได้
(เรียกว่าการแบ่ง Area) ทั้งนี้เพื่อจำกัดสโคป หรือขอบเขตของการเปลี่ยนแปลง
เน็ตเวิร์กโทโพโลยี
6. รอบรับการทำ “Route summarization”
7. รองรับการทำการกระจายแพ็กเก็ตไปบนเส้นทางที่มีแบนด์วิดธ์เท่ากัน
8. สามารถทำ “Route authentication” ระหว่างเร้าเตอร์เพื่อตรวจสอบ
ตัวตนซึ่งกันและกันก่อน
ที่จะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน
9. ไวมากต่อพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงเน็ตเวิร์กโทโพโลยี (Fast convergence)
Wireshark เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการดักจับ Packet ที่มีการรับส่งกันบนเครือข่าย
ในการดักจับ Packet นั้น โปรแกรม Wireshark นั้นจะต้องทำงานที่เครื่องคอม
พิวเตอร์ในเครือข่ายนั้น
Network Diagram ที่ใช้ Wireshark ในการดักจับ packet แสดงภาพของ
Network Diagram ที่ใช้ในการดักจับ Packet ของการทำงานของ Open
Shortest Path First (OSPF) Protocol ซึ่งจะเป็นการติดต่อเปลี่ยนแปลง
Update Routing Protocol ระหว่าง Core Switch และ Router ใน
Area เดียวกับการค้นหาเร้าเตอร์ ข้างเคียงที่รัน OSPF จะเกิดขึ้นด้วยการส่งแพ็กเก็ต
พิเศษที่เรียกว่า HELLO PACKET ออกไปไปโดยใช้มัลติคาสก์แอดเดรส 224.0.0.5
หลังจากนั้นแอดเดรสของเร้าเตอร์ ข้างเคียงที่ค้นพบได้จะถูกเก็บไว้ในตาราง OSPF
Neighbor Table
ผลลัพธ์ที่ได้จะแสดงหมายเลข IP Address ของเร้าเตอร์ และ Switch ข้างเคียง
แต่ละตัวที่ค้นพบได้ทางซีเรียสอินเตอร์เฟซต่างๆ กัน เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนบ้าน
ถูกสร้างขึ้นได้สำเร็จ สถานะ (State) ที่เห็นจะอยู่ในสถานะ FULL

หลัง จากฟอร์มความสัมพันธ์ระหว่างกันได้แล้ว เร้าเตอร์จะมีการส่ง Hello packet
ออกไปให้เร้าเตอร์เพื่อนบ้านทุก ๆ ระยะๆ ตามช่วงเวลาที่เรียกว่า Hello Interval
เพื่อยืนยันว่าตนเองยังมีชีวิตอยู่ หากเร้าเตอร์ไม่ได้ รับ HELLO PACKET มาจาเร้าเตอร์
เพื่อนบ้านหลังจากช่วงเวลาที่เรียกว่า Dead Interval ผ่านไปมันตะถือว่าเร้าเตอร์
เพื่อนบ้านนั้น ๆ ได้ดาวน์ลงไป
รูปแบบของ Hello Packetในการสร้างความสัมพันธ์ของ Protocol OSPF
จาก Core Switch ที่มี Source IP Address เป็น 172.18.19.252
ซึ่งมี Destination IP Address เป็น 244.0.0.5 (Multicast Address)
BGP (Border Gateway Protocol) เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางประเภท
Exterior Gateway Routing ที่ใช้เพื่อการเชื่อมต่อเราเตอร์ (Router)
และเครือข่ายที่อยู่ต่างโดเมน (Domain) กันบนอินเทอร์เน็ต
BGP ใช้ Protocol TCP Port หมายเลข 179 เพื่อใช้ในการขนถ่ายข้อมูลข่าวสาร
โดยมีการใช้ TCP เพื่อการสถาปนาการเชื่อมต่อก่อนจะแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่าง
เราเตอร์ BGP ทั้งสอง (Peer Router) จากนั้นก็จะทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
รวมทั้งการเปิดสัมพันธไมตรีก่อนที่จะแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันต่อไป
ข้อมูล ข่าวสารที่เราเตอร์ทั้งสองใช้เพื่อการแลกเปลี่ยนกัน รวมไปถึงข่าวสารที่แสดงถึง
ความสามารถในการเข้าถึงกันได้ โดยข่าวสารนี้เป็นในรูปแบบของเลขหมาย AS ของ
แต่ละฝ่าย ซึ่งต่างฝ่ายถือเป็นเส้นทางในการเข้าหากัน ข้อมูลนี้จะช่วยให้เราเตอร์สามารถ
สร้างผังของเส้นทางที่ปราศจากลูป (Loop) ในการเข้าหากัน อีกทั้งเราเตอร์ยังใช้เพื่อ
เป็นการกำหนดเส้นทางเชิงนโยบายที่มีเนื้อหาที่ กำหนดข้อจำกัดต่าง ๆ

จุดประสงค์ของการใช้ BGP
1.BGP ให้ประโยชน์อย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะการเชื่อมต่อเครือข่ายต่าง ๆ รวมทั้งลูกค้า
และผู้ให้บริการโทรศัพท์ รวมทั้งเครือข่ายอื่น ๆ
2.BGP เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายในรูปแบบของ Autonomous ต่างๆ
เข้าด้วยกัน
3.BGP เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายในระดับ Enterprise หากองค์กร
ของท่านมีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตแบบหลายเชื่อมต่อเพื่อผลแห่ง Redundancy BGP
ก็สามารถทำ Load Balancing Traffic ได้บนเส้นทางที่เป็น Redundant Link
4.จัดเลือกเส้นทางผ่านทางเครือข่ายไปยัง Autonomous System อื่น ๆ ที่เชื่อมต่อกัน
5.มีการเชื่อมต่อระหว่าง Autonomous System มากกว่า 1 เส้น
6.ควบคุมการลำเลียงข้อมูลข่าวสารที่วิ่งไปมาระหว่างระบบ Autonomous System
7.ท่านยังสามารถใช้ Policy ที่กำหนดให้ท่านสามารถเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดเพื่อเดิน
ทางไปสู่ปลายทาง